วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สรุปวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุปวิจัย
เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

        The effect of sufficiency economy approach learning activities on yong children's scientific basic skills
ปริญญานิพนธ์ของ สำรวย สุขชัย


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจําแนก รายทักษะ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจําแนก รายทักษะ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจําแนก รายทักษะ
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งให้เด็กได้รับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการจําแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะ การลงความเห็น โดยจัดการเรียนรู่ในหน่วยการเรียนเรื่อง ร่างกายของฉัน ธรรมชาติให้สีสัน ผัก และขยะ ที่สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของเด็ก ภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม


ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสําหรับ เด็กปฐมวัย

ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3 ทักษะ ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการจําแนกประเภท
2.2 ทักษะการสื่อความหมาย
2.3 ทักษะการลงความเห็น



เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะ
พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย


สรุปผลการวิจัย
จากการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ ดังนี้
1. ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้มีคะแนนเฉลี่ย X=9.67และจําแนกรายทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทักษะการลงความเห็นอยู่ในระดับ พอใช้ มีคะแนนเฉลี่ย X = 4.22 ทักษะการสื่อความหมายอยู่ในระดับพอใช้มีคะแนนเฉลี่ย X = 3.70 และทักษะการจําแนกประเภทอยู่ในระดับควรปรับปรุง มีคะแนนเฉลี่ย X = 1.74 ตามลําดับ
หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับ ดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย X = 16.44 และจําแนกรายทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทักษะการสื่อความหมายอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย X = 6.19 ทักษะการจําแนกประเภท อยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย X = 4.04 ส่วนทักษะการลงความเห็นอยู่ในระดับดี มีคะแนน เฉลี่ย X = 6.22 ตามลําดับ
2. เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดการ เรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยรวมก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย
X = 9.67 หลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ X = 16.44 ซึ่งมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ X = 6.77 และจําแนกรายทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทักษะการจําแนกประเภทก่อนการ ทดลองอยู่ในระดับควรปรับปรุง มีคะแนนเฉลี่ย X = 1.74 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะการ จําแนกประเภทอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย X = 4.04 ซึ่งมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
X = 2.3 ทักษะการสื่อความหมายก่อนการทดลองอยู่ในระดับควรปรับปรุงมีคะแนนเฉลี่ย X = 3.70 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะการสื่อความหมายอยู่ในระดับดีมากมีคะแนนเฉลี่ย X = 6.19 ซึ่งมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ X = 2.49 ทักษะการลงความเห็นก่อนการทดลองอยู่
ในระดับพอใช้มีคะแนนเฉลี่ย X = 4.22 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะการลงความเห็นอยู่ใน ระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย X = 6. 22 ซึ่งมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ X = 2.00
3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าเด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร?ราย ทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง มีการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.01 ของทักษะ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เดิม ทักษะการจําแนกประเภทมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็นอันดับแรก ร้อยละ 132.18 รองลงมาเป็นทักษะการสื่อความหมายร้อยละ 67.30 และทักษะการลงความเห็น ร้อยละ 47.40 ตามลําดับ



ที่มา : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_chi_Ed/Samruay_S.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น