วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 7

Friday  21   September   2018

time 08.30 - 12.30 o'clock

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขอบคุณดุ๊กดิ๊ก


The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ได้นำบ้านวิทยาศาสตร์น้อยมาเเจกให้คนละ 1 แผ่น ฉันได้เรื่อง ถั่วเขียวเต้นระบำและอาจารย์ให้เขียนขั้นตอนการทดลองลงบนกระดาษเอ 4 แและนำไปส่งให้อาจารย์ดูขั้นตอนเเต่ละขั้นตอนว่าถูกไหม เรื่องที่ฉันได้คือ เมล็ดพืชเต้นระบำ



การทดลองเรื่อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์


เรื่อง เมล็ดพืชเต้นระบำ


ข้อมูลความรู้ : เมื่อเรานำผงมะนาวโซดามาละลายน้ำจะทำให้เกิดฟอง ฟองอากาศดังกล่าวประกอบด้วยก๊าซคาาร์บอนไดออกไซค์ซึ้งเป็นกาซชนิดเดียวกับที่พบในน้ำอัดลมเนื่องจากฟองก๊าซเบากว่าน้ำจึงลอยขึ้นสู่ผิวน้ำซึ่งในระยะที่ฟองลอยขึ้นสู่ผิวน้ำนั้นฟองอาจนำวัตถุชิ้นเล็กๆในน้ำติดมาด้วย


ปัญหา: เมล็ดพืชลอยเพราะอะไร


สมมุติฐาน : ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ทำให้เมล็ดพืชลอยขึ้นมาได้อย่างไร


การทดลอง


1.เทน้ำเปล่าลงในขวดประมาณ 2ส่วน3 ขวด แล้วโรยเมล็ดพืชลงไปเเล้วปิดฝาทันทีเเล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง

2.เทน้ำโซดาลงในขวดอีกใบนึงประมาณ 2ส่วน 3ขวด แล้วโรยเมล็ดพืชลงไปเเล้วปิดฝา


3.สังเกตเเละจับเวลาว่าเมล็ดพืชเต้นขึ้นลงในน้ำได้นานเท่าไหร่เเล้วถ้าเปิดฝาเมล็ดพืชจะหยุดเคลื่อนที่หรือไม่

สรุปผลการทดลอง : เมล็ดพืชบางชนิดมีรูปทรงเป็นเหลี่ยมมุม ผิว ขรุขระ ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์มีพื้นที่ยึดเกาะมากขึ้นฟองก๊าซ( CO2 ) มีเเรงดันขึ้นสู่ผิวน้ำสูงเพราะมีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำมากเมื่อฟองอากาศเกาะเมล็ดพืชมากพอก็จะดันเมล็ดพืชขึ้นไปยังผิวน้ำเมื่อฟองลอยขึ้นมาถึงผิวน้ำก็จะเเตกทำให้เมล็ดพืชไม่มีเเรงพยุงทำให้จม

skills ทักษะ

ได้รู้เกี่ยวกับการตั้งปัญหาเกี่ยวกับการทดลอง

Apply การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้ในตั้งปัญหา สมมติฐานในการทดลอง

Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

ให้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองก่อนถ้าไม่เข้าใจค่อยถามอาจารย์


Assesment ประเมิน
our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
Teacher อาจารย์ : ให้คำเเนะนำในการเขียนการทดลอง



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขอบคุณดุ๊กดิ๊ก





วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 6


Friday   14  September 2018


time 08.30 - 12.30 o'clock


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ


       วันนี้อาจารย์สอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แและให้ค้นคว้าหาวิจัยที่เป็นวิทยาศาสตร์โดยให้ทุกคนหาเเละอ่านให้อาจารย์ฟัง อาจารย์จะบอกว่าวิจัยเรื่องนี้ใช้ได้หรือใช้ไม่ได้จะได้แก้ไข

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  คือ  วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทาง
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ  


          1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์     

          2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  

          3) จิตวิทยาศาสตร์

   วิธีการทางวิทยาศาสตร์  เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา  คือการระบุปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา  และกำหนด      ขอบเขตของปัญหา

2.  ขั้นตั้งสมมติฐาน  คือ   สมมติฐานมีคำตอบที่อาจเป็นไปได้ และคำตอบที่ยอมรับว่าถูกต้องเชื่อถือได้  เมื่อมีการพิสูจน์ หรือตรวจสอบหลาย ๆ ครั้ง
3.  ขั้นตรวจสอบสมติฐาน  คือ   เมื่อตั้งสมมติฐานแล้ว หรือคาดเดาคำตอบหลาย ๆ คำตอบไว้แล้ว กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นต่อไป คือตรวจสอบสมมติฐาน                                                        
4.  ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การค้นคว้า การทดลอง หรือการรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง 
5.  ขั้นสรุปผล คือ เป็นขั้นสรุปผลที่ได้จากการทดลอง การค้นคว้ารวบรวมข้อมูล สรุปข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองว่าสมมติฐานข้อใดถูกและนำไปใช้ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น
skills ทักษะ

ได้รู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

Apply การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้ในการทดลองให้เด็กดูได้เเละอธิบายตามขั้นตอนให้เด็กฟัง

Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

ให้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองก่อนถ้าไม่เข้าใจค่อยถามอาจารย์


Assesment ประเมิน
our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆคิดค้นคว้าวิจัยและตั้งใจเรียน
Teacher อาจารย์ : ให้คำเเนะนำหลากหลายในการสอนเเละหาวิจัย



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขอบคุณ


วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 5



Friday   7 September 2018


time 08.30 - 12.30 o'clock


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยินดีต้อนรับ

The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ


    อาจารย์ให้จับกลุ่มพร้อมให้ศึกษาค้นคว้าออกแบบกิจกรรมที่จะนำไปใช้ในศูนย์วิทยาศาสตร์โดยการให้คนในกลุ่มระดมความคิดว่าเราควรมีสื่ออะไรให้เด็กได้ดูหรือเป็นเกมให้เด็กได้เล่นในสถานที่ที่เราจะไปเเละหลังจากนั้นก็เสนอให้อาจารย์ฟังเเละอาจารย์จะช่วยเเนะนำให้ไปปรับว่าสิ่งที่เราจะนำไปใช้ต้องมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับชั้นที่เราจะไปดูไหม เช่น ไปชั้นดวงดาว จะต้องเป็นกิจกกรรมแบบไหนถึงจะเหมาะสมเเละหลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้ไปทำบล็อคให้เสร็จ



skills ทักษะ


ได้คิดแก้ไขปัญหา

Apply การนำไปประยุกต์ใช้


สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน

Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน


ให้คิดจากสิ่งรอบตัวและนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์สิ่งของ


Assesment ประเมิน
our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำหรือให้แก้ไข
Friend เพื่อน : เพื่อนๆคิดและหากิจกรรมไปเสนออาจารย์
Teacher อาจารย์ : บอกเเละเเนะนำเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่เราทำ





รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

สรุปตัวอย่างการสอน
เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
สัมภาษณ์ ครูประกอบแก้ว เงินกร และครูวาสนา พรมตา
(กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนปทุมวัน)
    การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ เราจะทำอย่างไรให้เด็กนั้นรักในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรียนแล้วไม่รู้สึกน่าเบื่อ เรียนแล้วเกิดความสนุก เด็กอยากที่จะเรียนรู้ เกิดความสงสัยแล้วอยากจะถาม เมื่อเรียนแล้วเกิดความสนุกสนาน เด็กก็เกิดจิตวิทยาศาสตร์นั้นเอง
     ซึ่งเด็กที่มีจิตวิทยาศาสตร์ เค้าจะสนใจเนื้อหาที่ครูสอน  ชอบซักถามและมักมีข้อสงสัยตลอดเวลา ต่างกับเด็กที่ไม่มีจิตวิทยาศาสตร์ ก็จะสังเกตได้ว่าเค้าไม่ค่อยถามคุณครู จะนิ่งเงียบ  เรียนไม่สนุก และไม่ค่อยให้ความสนใจสิ่งต่างๆนั้นเอง
     วิธีการสร้างจิตวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กนั้น เราจะต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนให้กับเด็กนั้นมีความน่าสนใจ เห็นแล้วอยากเรียนอยากลงมือปฏิบัติ เช่นในการทดลอง ครูจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการทดทองให้กับเด็ก เพราะว่าเด็กยังไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์เองได้ นอกจากนี้การเตรียมตัวของครูก็เป็นสิ่งสำคัญ  ถ้าในเรื่องการสอนแบบบรรยาย ต้องมีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ มีการเตรียมความพร้อมเนื้อหาที่สนุกสนาน สอนเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เรื่องง่ายๆ เรื่องที่เด็กสามารถเห็นได้จริงและทดลองได้จริง และเนื้อหาควรจะที่สั้นกะทัดรัดน่าสนใจ ถ้าในเรื่องของการทดลองนั้นเด็กยิ่งให้ความสนใจอยู่แล้ว เพราะในการทดลองนั้นเป็นขั้นตอนที่เด็กชอบมาก เด็กได้ลงมือทำเองลงมือปฏิบัติจริง จึงทำให้เกิดประสบการณ์ตรง ทำให้เด็กเรียนรู้ว่าอะไรเป็นอย่างไรนั้นเอง
     ในการวัดผลที่จะทำให้รู้ว่าเด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ คือการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เช่น เด็กมีการช่างสังเกตมากขึ้น เด็กสนใจสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว เด็กรู้ถึงความแตกต่างของสิ่งที่พบเห็น หรืออาจมีการสอบถามผู้ปกครองของเด็กเพิ่มเติม ว่าเวลาอยู่บ้านนั้นเด็กทำอะไรบ้างมีพฤติกรรมเป็นอย่างไรบ้าง เป็นต้น
      สรุปคือจิตวิทยาศาสตร์คือการที่เด็กเป็นคนช่างสังเกต และต้องหัดสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน หมายถึงลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งจิตวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ได้แก่  ความสนใจใฝ่รู้  ความมุ่งมั่น  อดทน  รอบคอบ  ความรับผิดชอบ  ความซื่อสัตย์  ประหยัด  การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุผล  การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์นั้นเอง




สรุปบทความ

     เรื่อง : วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Science for Early Childhood)
     ผู้เขียน : บุญไทย แสนอุบล

     การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมิใช่หมายถึงสาระทางเคมี ชีววิทยา แต่เด็กปฐมวัยนั้นจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นหลักสำคัญ ซึ่งได้แบ่งสาระทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ 4 หน่วย ดังนี้
   
     หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
     หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการรับรู้
     หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
     หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการแยกประเภท

     ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 เด็กจะตั้งใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่

การสังเกต
การจำแนกประเภท
การสื่อความหมาย
ทักษะการลงความเห็น
    ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

     การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติ แบ่งเป็น 5 ขั้นดังนี้

     ขั้นที่ 1 การกำหนดขอบเขตของปัญหา
ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด้กปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร
     ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน
เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้า
     ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล
เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตาสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในขั้นที่ 2
     ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน
     ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม
    
     กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่งเป็นวัฏจักร ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต การจำแนกประเภทและเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้

   
     สาระที่เด็กต้องเรียน
สาระเกี่ยวกับพืช เช่น พืช ต้นไม้ ดอกไม้
สาระเกี่ยวกับสัตว์ เช่น ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์
สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การจม การลอย
สาระเกี่ยวกับเคมี เช่น รสของผลไม้ ความร้อน
สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา เช่น ดิน ทราย หิน
สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
    เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์
ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ และปรากฎการณ์ที่มี
ให้เด็กได้ใช้ประบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ  และเจตคติของเด็กให้พบ
ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้น
หลักการจัดกิจกรรม แบ่งได้ 5 ข้อ
เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก
เอื้ออำนวยให้แก่เด็กที่กระทำ
เด็กต้องการและสนใจ
ไม่ซับซ้อน
สมดุล
  
          สิ่งที่ได้จากวิทยาศาสตร์นั้น คือ การสร้างให้เด็กมีนิสัยในการค้นคว้า การสืบค้น และการเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว รู้จักการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์