วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 15


Friday  23   November 2018

time 08.30 - 12.30 o'clock



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปยินดีต้อนรับดุ๊กดิ๊ก



วันนี้ฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไปทำธุระที่ต่างจังหวัดค่ะ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง





วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 14


Friday  16   November 2018

time 08.30 - 12.30 o'clock


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปยินดีต้อนรับดุ๊กดิ๊ก

The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้อาจารย์ให้เขียนแผนผังความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจหรือหน่วยที่สนใจ ฉันเอาหน่วยเกี่ยวกับเรื่อง บ้าน 

ประกอบไปด้วย 

  1. สมาชิกในบ้าน จะมี พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลูก 
  2. อุปกรณ์รักษาความสะอาด มี ไม้กวาด ไม้ถูพื้น ไม้ปัดขนไก่ 
  3. ประโยชน์ของห้องภายในบ้าน มี ห้องรับเเขก ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องโถง
  4.  ลักษณะของบ้าน สูง ต่ำ ชั้นเดียว สองชั้น ไม้ ปูน อิฐ สีเหลี่ยม
  5. ส่วนประกอบของบ้าน มีประตู หน้าต่าง หลังคา รั้ว





skills ทักษะ

ได้วิธีเขียนแผนผังที่ถูกต้อง

Apply การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ในการเขียนสรุป

Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

การพูดอธิบายขั้นตอนในการเขียนอย่างละเอียด

Assesment ประเมิน
our self ตัวเอง : ตั้งใจเขียนงานจนเสร็จ
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำงาน
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้คำเเนะนำเรื่องแผนผัง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขอบคุณ

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 13


Friday  9   November 2018


time 08.30 - 12.30 o'clock

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปยินดีต้อนรับดุ๊กดิ๊ก

The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้อาจารย์เอาคลิปวิดีโอเรื่องเเสงมาให้ดู ว่าเเสงนั้นมีอะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง

คุณสมบัติของแสง
 แสงมีคุณสมบัติเป็นทั้งคลื่นและอนุภาค แสงจะมีคุณสมบัติที่สำคัญ 4 ข้อ ได้แก่
1) เดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear propagation)
2) การหักเห (Refraction)
3) การสะท้อน (Reflection)
4) การกระจาย (Dispersion)
การหักเห
เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง แสงบางส่วนสะท้อนกลับไปในตัวกลางเดิม ส่วนแสงที่เหลือจะหักเหเข้าไปในตัวกลางใหม่
ในการหักเหความถี่ของแสงก่อนและหลังการหักเหเท่าเดิมเสมอ แต่แสงจะมีความเร็วลดลงเมื่อเคลื่อนที่เข้าไปในตัวกลาง ดังนั้นเราจึงเราจึงทราบได้ว่า ความยาวคลื่นจะต้องเปลี่ยนไปเป็นสัดส่วนกับความเร็ว ส่วนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงนั้นส่วนมากแล้วจะเปลี่ยนเมื่อเทียบกับทิศทางเดิม ยกเว้นกรณีเดียวคือ กรณีที่มุมตกกระทบเป็นศูนย์ (คือแสงส่องไปเลยตรงๆ)
skills ทักษะ

ได้รู้เกี่ยวกับการหักเหของเเสงเเละคุณสมบัติของเเสง

Apply การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้ในการทดลองเรื่องรุ้งกินน้ำได้

Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

เทคนิคการให้นักศึกษาดูและคิดวิเคราะห์


Assesment ประเมิน
our self ตัวเอง : ดูคลิปวิดีโอเเละจดตาม
Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์เเละให้ความร่วมมือในชั้นเรียน
Teacher อาจารย์ : ให้คำอธิบายเรื่องเเสงเพิ่มเติมอย่างละเอียด


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขอบคุณ

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 12


Friday  2   November 2018

time 08.30 - 12.30 o'clock

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ไปจัดโครงการที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมโดยจะมีฐานทั้งหมด 4 ฐานให้เด็กๆมาเข้าฐานให้ครบทั้ง 4 ฐาน 


ฐานที่ 1
ชื่อฐาน ปริศนา ซี โอ ทู  เกี่ยวกับเรื่องการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์

ฐานที่ 2
ชื่อฐาน น้ำนิ่งไหลลึก  เกี่ยวกับเรื่องการคงตัวของน้ำ

ฐานที่ 3
ชื่อฐาน ติด ดับ จับ ต่อ เกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้า

ฐานที่ 4
ชื่อฐาน ความลับของสีดำ  เกี่ยวกับเรื่องของสีดำ

รูปภาพโครงงาน




วิดีโอ ปริศนา ซี โอ ทู 





skills ทักษะ

ได้นำทักษะวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้นตอนไปใช้ในการทดลอง

Apply การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

การพูดอธิบายขั้นตอนให้เด็กๆเข้าใจง่ายขึ้น

Assesment ประเมิน
our self ตัวเอง : ตั้งใจทำหน้าที่ของตนเอง
Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำงานกลุ่มของตนเอง
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้การดูเเลอย่างทั่วถึงทุกกลุ่ม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขอบคุณ

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Recorded Diary 11


Friday  26   October 2018


time 08.30 - 12.30 o'clock

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์เปิดคลิปวิดีโอที่เพื่อนๆทำการทดลองให้ดู 

เพื่อนคนเเรก นางสาว อุไรพร  พวกดี ทดลองเรื่อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ดับไฟได้

ปัญหาคือ ทำไมไฟถึงดับ

การทดลอง นำเทียนมาวางไว้บนเบกกิงโซดาหลังจากนั้นจุดไฟบนเทียนเเละนำน้ำมะนาวที่ผสมเเล้วเทลงบนเบกกิงโซดาผลที่ได้คือ ไฟในเทียนดับ

สรุปผลการทดลอง ถ้านำน้ำมะนาวมาหยดลงบนเบกกิงโซดาจะเกิดการทำปฏิกิริยากันทำให้ไฟดับได้ดังนั้นจึงเรียกก๊าวนี้ว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์


เพื่อนคนที่สอง นางสาว ปรางทอง  สุริวงษ์ ทดเรื่องเรื่อง การเปิดปิดสวิตซ์
ปัญหาคือ ทำไมไฟถึงติด

การทดลอง นำถ่านไฟฉายมาต่อเข้ากับสายไฟปากหนีบจระเข้เเล้วนำหลอดไฟมาต่อเข้ากอีกทางเเล้วนำสายที่เหลือเสียบต่อผลที่ออกมาคือ ไฟฟ้าติด

สรุปผลการทดลอง ถ้าเรานำสิ่งที่เป็นโลหะมาต่อเข้ากับสายไฟปากหนีบจระเข้จะทำให้ไฟติด


skills ทักษะ

ได้รู้เกี่ยวกับการทดลองการเกิดไฟฟ้าเเละการเิกดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซค์

Apply การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้ในการทดลองในเรื่องไฟฟ้าได้

Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

เทคนิคการให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้


Assesment ประเมิน
our self ตัวเอง : ตั้งใจดูคลิปวิดีโอเเละจดตาม
Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์เเละให้ความร่วมมือในชั้นเรียน
Teacher อาจารย์ : ให้คำปรึกษาเรื่องการทดลองอย่างละเอียด

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Recorded Diary 10


Friday  19   October 2018


time 08.30 - 12.30 o'clock

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขอบคุณดุ๊กดิ๊ก


The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ


อาจารย์ให้เลือกเรื่องที่ทดลองของเพื่อนในกลุ่มออกมา1เรื่องโดยลงความเห็นกันในกลุ่มว่าจะเอาเรื่องอะไรเเละนำไปจัดฐานให้กับเด็กๆโดยจะเป็นโครงการของห้องที่จะนำไปจัดให้กับเด็กๆ

ฐานของฉันมีชื่อว่า 
ปริศนา ซี โอ ทู 

วัตถุประสงค์
  1. เด็กบอกได้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดจากอะไร
  2. เด็กบอกได้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีประโยชน์และโทษอย่างไร
กิจกรรม
1.      สิ่งของเหล่านี้เด็กๆคิดว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?
ประเด็นที่อยากรู้
            2.สิ่งของที่วางอยู่บนโต๊ะถ้าเอาน้ำมะนาวผสมเบกกิงโซดา น้ำตาลทราย ผงฟู และเกลือมันจะเกิดปฏิกิริยาอะไรบ้าง
สมมติฐาน
 (คำถามเพื่อให้เด็กตั้งสมมติฐาน) ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดอะไรขึ้น?
(นี่คือสมมติฐานเป็นสิ่งที่เด็กตอบ) 3.ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดการละลาย
ทดลอง
4. ครูให้เด็กตักเบกกิงโซดา น้ำตาลทราย ผงฟู และเกลือแต่ละชนิด ครั้งละ  2 ช้อนใส่ในแก้วพลาสติกใบที่ 1 ,2,3,4 ตามลำดับ
 5. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 1 ที่มี เบกกิงโซดา และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
            6. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 2 ที่มี น้ำตาลทราย และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
            7. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 3 ที่มี ผงฟู และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
            8. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 4 ที่มีเกลือ และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
อภิปรายข้อมูล
ผลจากการสังเกต
9. แก้วใบที่ 1 และใบที่ 3 มีการละลายและเกิดฟอง
10. แก้วใบที่ 2 และใบที่ 4 มีการละลายอย่างเดียว
ตรวจสอบกับสมมติฐาน
11. ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดการละลาย
สรุปผลการทดลอง
น้ำมะนาวละลายสารทั้ง 4 ชนิดเป็นไปตามสมมติฐาน และเกิดข้อค้นพบว่าแก้วใบที่ 1 และใบที่ 3 มีการเกิดฟอง เพราะน้ำมะนาวเป็นกรดทำปฏิกิริยากับเบกกิงโซดาและผงฟูทำให้เกิดฟองอากาศ ซึ่งอากาศนั้นคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

วิธีการประเมิน
-          สังเกตจากพฤติกรรมขณะร่วมปฏิบัติการทดลอง
-          การสนทนาซักถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของน้ำมะนาวและสารทั้ง 4 ชนิด
-           
สื่อ /  อุปกรณ์
1.เบกกิงโซดา
2.น้ำตาลทราย
3.ผงฟู
4.เกลือ
5.น้ำมะนาว
6.แก้วน้ำพลาสติก
7.ช้อน
8.น้ำอัดลม
9.เนื้อหมู



skills ทักษะ

ได้รู้เกี่ยวกับการทดลองการเกิดก๊าซ

Apply การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ในอนาคต

Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

เทคนอคการถามเเละการให้นักศึกษาคิดแและตอบ


Assesment ประเมิน
our self ตัวเอง : ตั้งใจเรียนในคาบ
Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์
Teacher อาจารย์ : ให้คำปรึกษาและอธิบายขั้นตอนการทดลองอย่างละเอียด


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Recorded Diary 9


Friday  12   October 2018


time 08.30 - 12.30 o'clock


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนออกมาทดลองต่อจากครั้งที่เเล้ว

คนที่ 1 นางสาวอรอุมา  ศรีท้วม ทำการทดลองเรื่องปริมาณของน้ำดูว่าน้ำมีขนาดเท่ากันหรือไม่โดยจะมีแก้ว 4ใบที่มีขนาดเเละรูปทรงต่างกันโดยการให้ตัวเเทนเพื่อนออกไปตักน้ำใส่แก้วจนครบเเล้วสังเกตทีละเเก้วว่าน้ำที่ได้นั้นมีขนาดเท่ากันหรือไม่อย่างไร





skills ทักษะ

ได้รู้เกี่ยวกับการทดลองของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

Apply การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

อาจารย์สอนโดยใช้เทคนิคการพูดกับเด็กให้เข้าใจในขั้นตอนการทดลอง


Assesment ประเมิน
our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอการทดลอง
Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเเละออกไปมีส่วนร่วม
Teacher อาจารย์ : ให้คำปรึกษาและวิธีการพูดให้เด็กฟัง



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สรุปวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุปวิจัย
เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

        The effect of sufficiency economy approach learning activities on yong children's scientific basic skills
ปริญญานิพนธ์ของ สำรวย สุขชัย


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจําแนก รายทักษะ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจําแนก รายทักษะ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจําแนก รายทักษะ
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งให้เด็กได้รับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการจําแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะ การลงความเห็น โดยจัดการเรียนรู่ในหน่วยการเรียนเรื่อง ร่างกายของฉัน ธรรมชาติให้สีสัน ผัก และขยะ ที่สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของเด็ก ภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม


ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสําหรับ เด็กปฐมวัย

ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3 ทักษะ ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการจําแนกประเภท
2.2 ทักษะการสื่อความหมาย
2.3 ทักษะการลงความเห็น



เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะ
พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย


สรุปผลการวิจัย
จากการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ ดังนี้
1. ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้มีคะแนนเฉลี่ย X=9.67และจําแนกรายทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทักษะการลงความเห็นอยู่ในระดับ พอใช้ มีคะแนนเฉลี่ย X = 4.22 ทักษะการสื่อความหมายอยู่ในระดับพอใช้มีคะแนนเฉลี่ย X = 3.70 และทักษะการจําแนกประเภทอยู่ในระดับควรปรับปรุง มีคะแนนเฉลี่ย X = 1.74 ตามลําดับ
หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับ ดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย X = 16.44 และจําแนกรายทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทักษะการสื่อความหมายอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย X = 6.19 ทักษะการจําแนกประเภท อยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย X = 4.04 ส่วนทักษะการลงความเห็นอยู่ในระดับดี มีคะแนน เฉลี่ย X = 6.22 ตามลําดับ
2. เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดการ เรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยรวมก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย
X = 9.67 หลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ X = 16.44 ซึ่งมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ X = 6.77 และจําแนกรายทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทักษะการจําแนกประเภทก่อนการ ทดลองอยู่ในระดับควรปรับปรุง มีคะแนนเฉลี่ย X = 1.74 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะการ จําแนกประเภทอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย X = 4.04 ซึ่งมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
X = 2.3 ทักษะการสื่อความหมายก่อนการทดลองอยู่ในระดับควรปรับปรุงมีคะแนนเฉลี่ย X = 3.70 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะการสื่อความหมายอยู่ในระดับดีมากมีคะแนนเฉลี่ย X = 6.19 ซึ่งมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ X = 2.49 ทักษะการลงความเห็นก่อนการทดลองอยู่
ในระดับพอใช้มีคะแนนเฉลี่ย X = 4.22 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะการลงความเห็นอยู่ใน ระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย X = 6. 22 ซึ่งมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ X = 2.00
3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าเด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร?ราย ทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง มีการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.01 ของทักษะ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เดิม ทักษะการจําแนกประเภทมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็นอันดับแรก ร้อยละ 132.18 รองลงมาเป็นทักษะการสื่อความหมายร้อยละ 67.30 และทักษะการลงความเห็น ร้อยละ 47.40 ตามลําดับ



ที่มา : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_chi_Ed/Samruay_S.pdf